วิธีเลือกเม็ดมีดกลึงเกลียวและแผ่นรองเม็ดมีด

ใในการเลือกเม็ดมีดม้วนเกลียวที่เหมาะสำหรับการใช้งานมากที่สุดนั้น ต้องคำนึงถึงประเภทของเม็ดมีด มุมหลบด้านข้าง/มุมหลบในแนวรัศมี และรูปทรงร่องหกเศษเม็ดมีด ปัจจัยดังกล่าวล้วนส่งผลต่อการควบคุมเศษ การสึกหรอของเม็ดมีด อายุการใช้งานของเครื่องมือ และคุณภาพของเกลียว
วิธีเลือกประเภทของเม็ดมีด
ในการม้วนเกลียว สามารถเลือกใช้เม็ดมีดได้สามประเภทหลักๆ คือ เม็ดมีดโปรไฟล์เต็ม เม็ดมีดโปรไฟล์รูปตัว V และเม็ดมีดหลายฟัน เม็ดมีดแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อด้อยต่างกัน
เม็ดมีดโปรไฟล์เต็ม


เม็ดมีดโปรไฟล์เต็มเป็นประเภทที่ใช้กันทั่วไป โดยใช้สำหรับตัดโปรไฟล์เกลียวที่สมบูรณ์ รวมถึงยอดฟันเกลียว
ข้อดี
- มีความลึก ส่วนล่างและส่วนบนของโปรไฟล์ถูกต้อง จึงมั่นใจได้ว่าเกลียวมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น
- ไม่จำเป็นต้องลบคมของโปรไฟล์เกลียว
- รัศมีปลายคมตัดมีขนาดใหญ่กว่า จึงช่วยลดรอบม้วนเมื่อเทียบกับเม็ดมีดโปรไฟล์รูปตัว V
- เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการม้วนเกลียว
ข้อด้อย
สำหรับระยะพิทช์และโปรไฟล์ประเภทต่างๆ นั้นจำเป็นต้องแยกใช้เม็ดมีด
หมายเหตุ! ควรทิ้งเนื้อวัสดุเผื่อ/วัสดุไว้บนชิ้นงานสำหรับแต่งเส้นผ่านศูนย์กลางผิวสำเร็จของเกลียว (0.05–0.07 มม. (0.002–0.003 นิ้ว))
เม็ดมีดโปรไฟล์รูปตัว V

เม็ดมีดโปรไฟล์รูปตัว V จะไม่อยู่บนยอดฟันเกลียว จึงต้องม้วนเส้นผ่านศูนย์กลางด้านนอกสำหรับสกรูและเส้นผ่านศูนย์กลางด้านในสำหรับน็อตไปทางเส้นผ่านศูนย์กลางด้านขวาก่อนที่จะทำการม้วนเกลียว
ข้อดี
- มีความยืดหยุ่น สามารถใช้เม็ดมีดประเภทเดียวกันในระยะพิทช์ต่างๆ ได้ ซึ่งต้องระบุว่ามุมรวมยอดเกลียว (60° หรือ 55°) และรัศมีเท่ากัน
- ลดจำนวนเครื่องมือในสต็อก
ข้อด้อย
- รัศมีปลายคมตัดของเม็ดมีดมีขนาดเล็กกว่าเพื่อให้ครอบคลุมระยะพิทช์ในระยะต่างๆ ซึ่งทำให้อายุการใช้งานของเครื่องมือลดลง
- การเกิดเศษค้างอาจเป็นปัญหาหนึ่ง
เม็ดมีดหลายฟัน

เม็ดมีดหลายฟันมีลักษณะคล้ายกับเม็ดมีดโปรไฟล์เต็ม แต่มีปลายเม็ดมีดมากกว่าหนึ่งปลาย (NT>1) เม็ดมีดแบบสองปลายช่วยเพิ่มความสามารถในการผลิตขึ้นสองเท่า และเม็ดมีดแบบสามปลายช่วยเพิ่มความสามารถในการผลิตขึ้นสามเท่า เป็นต้น
ข้อดี
- ช่วยลดรอบม้วน ทำให้เครื่องมือมีอายุการใช้งานนานขึ้น ความสามารถในการผลิตดีขึ้น และต้นทุนด้านเครื่องมือลดลง
ข้อด้อย
- จำเป็นต้องมีสภาพการทำงานที่มั่นคง เนื่องจากมีแรงตัดสูงขึ้นและคมตัดมีการสัมผัสยาวขึ้น
- ต้องมีพื้นที่ว่างด้านหลังเกลียวตัวสุดท้ายเพียงพอที่จะรักษาระยะห่างจากฟันเม็ดมีดซี่สุดท้าย เพื่อให้ม้วนเกลียวได้ลึกจนสุด

วิธีเลือกรูปทรงร่องหักเศษเม็ดมีด
การเลือกรูปทรงร่องหักเศษเม็ดมีดมีความสำคัญต่อการกลึงเกลียว โดยรูปทรงจะมีผลกับการควบคุมเศษ การสึกหรอของเม็ดมีด คุณภาพของเกลียว และอายุการใช้งานของเครื่องมือ
รูปทรงแบนเรียบ

- อเนกประสงค์ สามารถใช้ได้กับวัสดุเกือบทุกชนิด
- คมตัดมนเพื่อให้คมตัดมีความแข็งแรง
รูปทรงแหลม

- สำหรับวัสดุมีความเหนียวหรือเกิดการแข็งตัว เช่น เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ เหล็กสเตนเลส วัสดุไร้แร่เหล็ก และซูเปอร์อัลลอย
- คมตัดแหลมเพื่อลดแรงตัดและให้ผิวสำเร็จที่มีคุณภาพดี
รูปทรงร่องหักเศษ

- สำหรับวัสดุที่เกิดเศษยาว เช่น วัสดุที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำ นอกจากนี้ยังใช้ได้กับเหล็กสเตนเลส เหล็กเหนียวอัลลอย และวัสดุไร้แร่เหล็ก
- รูปทรงที่ช่วยในการคายเศษซึ่งช่วยให้ทำการตัดเฉือนได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ใช้คนควบคุมได้อย่างต่อเนื่องดียิ่งขึ้น
- ห้ามใช้กับการป้อนเข้าในแนวรัศมี
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเม็ดมีดทำเกลียวและเกรดต่างๆ
มุมหลบเม็ดมีด
มุมหลบระหว่างเม็ดมีดและเกลียวต้องมีการกลึงเกลียวที่เที่ยงตรงและแม่นยำ มุมหลบดังกล่าวมีสองประเภทคือ มุมหลบในแนวรัศมี (ALP) และมุมหลบด้านข้าง (ALF)
![]() | |||
มุมหลบในแนวรัศมี | มุมหลบด้านข้าง |
มุมหลบด้านข้าง
ระยะหลบของคมตัดระหว่างด้านข้างของเม็ดมีดและขอบข้างของเกลียวมีส่วนสำคัญในการทำให้เครื่องมือมีลักษณะการสึกหรอที่สม่ำเสมอกลมกลืนกัน และเกลียวมีคุณภาพสูง ดังนั้นจึงควรปรับเอียงเม็ดมีดเพื่อให้ระยะหลบจากขอบข้าง (มุมหลบด้านข้าง) สมมาตรสูงสุด และเพื่อให้โปรไฟล์เกลียวถูกต้องด้วย มุมเอียงของเม็ดมีดควรเท่ากับมุมเอียงของฟันเกลียว

มุมหลบด้านข้าง
การเลือกแผนรองเม็ดมอด

แผ่นรองเม็ดมัดใช้สำหรับปรับความเอียงของเม็ดมัด เพื่อให้มุมเอียงของเม็ดมัด (λ) ตรงกับมุมเอียงของฟันเกลียว ดูวิธีเลือกแผ่นรองเม็ดมัดที่ถูกต้องในตารางด้านล่าง
- แผ่นรองเม็ดมัดมาตรฐานในตัวจับยึดส่วนใหญ่คือ 1° ซึ่งเป็นมุมเอียงที่ใช้ทั่วไป
- ใช้แผ่นรองเม็ดมัดมุมติดลบในกรณีที่กลึงเกลียวซ้ายด้วยเครื่องมือกลึงขวาและในทางกลับกัน
ระยะการเคลื่อนที่ของเกลียว (ระยะพิทช์) มม. | เกลียว/นิ้ว | ||
![]() | |||
ชิ้นงาน เส้นผ่านศูนย์กลาง | มม. นิ้ว |
ตัวอย่าง:
- ระยะพิทช์ = 6 มม. และชิ้นงาน = Ø40 มม.: ต้องใช้แผ่นรองเม็ดมีด 3°
- ระยะพิทช์ = 5 ฟันเกลียวต่อนิ้ว และชิ้นงาน = Ø4 นิ้ว: ต้องใช้แผ่นรองเม็ดมีด 1°
เกลียวที่มีมุมรวมยอดเกลียวเล็ก

ALP = มุมหลบในแนวรัศมี ALF = มุมหลบด้านข้าง
สำหรับ ACME เกลียวสี่เหลี่ยมคางหมูและเกลียวแบบกลม สิ่งที่มีความสำคัญเป็นพิเศษคือ การเลือกแผ่นรองเม็ดมีดให้ถูกต้องในการปรับเอียงเม็ดมีด เนื่องจากมีแรงกดที่คมตัดสูงขึ้นและมุมหลบด้านข้างมีขนาดเล็กลง
มุมหลบด้านข้าง (ALF) ขึ้นอยู่กับโปรไฟล์
มุมหลบด้านข้าง (ALF) | มุมหลบด้านข้าง (ALF) | ||
เมตริก, UN | 60° | 7.6° | 5° |
วตเวอรต | 55° | 7.1° | 4.7° |
สี่เหลี่ยมคางหมู | 30° | 4° | 2.6° |
ACME | 29° | 3.8° | 2.5° |
ฟันเลื่อย | 10°/3° | 2.7°/0.8° | 1.8°/0.5° |

มุมหลบในแนวรัศมี
ในการปรับมุมหลบในแนวรัศมีให้ถูกต้องนั้น เม็ดมีดจะเอียงทำมุม 10° หรือ 15° ในตัวจับยึดเครื่องมือ สิ่งสำคัญคือต้องใช้เม็ดมีดกลึงในที่มีตัวจับยึดเครื่องมือกลึงใน และในทางกลับกันเพื่อให้แน่ใจว่าได้เกลียวมีรูปแบบถูกต้อง

ขนาดเม็ดมีด:
11, 16 และ 22 มม.
(1/4, 3/8 และ 1/2 นิ้ว)

ขนาดเม็ดมีด:
27 มม. (5/8 นิ้ว)