การกัดร่องหรือช่อง


การกัดร่องหรือช่องเป็นงานกัดข้างและงานกัดปาดหน้าที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการกัดด้วยดอกเอ็นมิล
- ร่องหรือช่องมีได้หลายลักษณะ ไม่ว่าจะสั้นหรือยาว ปิดหรือเปิด เป็นแนวตรงหรือแนวโค้งบิดเบี้ยว ลึกหรือตื้น และกว้างหรือแคบก็ได้
- โดยปกติ เราจะเลือกเครื่องมือตามความกว้างและความลึกของร่อง และตามความยาวในบางกรณี
- ประเภทการตัดเฉือนที่มีและความถี่ในการทำงานจะเป็นตัวกำหนดว่าควรใช้ดอกเอ็นมิล หัวกัดคมตัดยาว หรือหัวกัดข้างและหัวกัดปาดหน้า
- หัวกัดข้างและหัวกัดปาดหน้าเป็นวิธีกัดร่องยาวและลึกจำนวนมากที่เปี่ยมประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้เครื่องกัดแนวนอน อย่างไรก็ตาม การเติบโตของเครื่องกัดแนวตั้งและเครื่องจักรอัตโนมัติครบวงจรแสดงให้เห็นว่า ดอกเอ็นมิลและหัวกัดขอบยาวยังเป็นเครื่องมือที่พบได้บ่อยในงานกัดร่องรูปแบบต่างๆ อีกด้วย
การเปรียบเทียบหัวกัดรุ่นต่างๆ
การกัดข้างและปาดหน้า
+ ช่องเปิด
+ ช่องลึก
+ ปรับความกว้าง/พิกัดความเผื่อได้
+ การกัดด้วยหัวกัดหลายหัวพร้อมกัน
+ การตัดชิ้นงาน
+ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายสำหรับความกว้าง/ความลึกขนาดต่างๆ
– ช่องปิด
– การกลึงร่องแบบต่อเนื่องอย่างเดียว
– การคายเศษ

การกัดด้วยดอกเอ็นมิล
+ ช่องปิด
+ ช่องตื้น
+ ช่องแบบไม่ต่อเนื่อง
+ อเนกประสงค์ (วิธีอื่นๆ เพิ่มเติม):
- การกัดช่องแบบโทรคอยด์สำหรับวัสดุที่ตัดเฉือนยาก (เช่น เหล็กชุบแข็ง, HRSA เป็นต้น)
- การกัดแนวดิ่งเป็นวิธีแก้ปัญหาสำหรับงานที่ต้องใช้ระยะยาว
- สามารถเพิ่มการเก็บผิวกึ่งละเอียด/การเก็บผิวละเอียดได้สะดวก
- และสามารถใช้ดอกเอ็นมิลในงานอื่นๆ นอกเหนือจากการกัดช่องได้
– ช่องลึก
– แรงกัดสูง
– ไวต่อการสั่นสะเทือนหากเบี่ยงทิศทาง

การกัดข้างและปาดหน้า

หัวกัดข้างและหัวกัดปาดหน้าสามารถตัดเฉือนช่องแบบเปิดที่ลึกและยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความมั่นคงและความสามารถในการผลิตให้กับงานกัดประเภทดังกล่าวด้วย และสามารถนำมาประกอบเป็น "หัวกัดหลายหัว" สำหรับตัดเฉือนผิวงานมากกว่าหนึ่งผิว ซึ่งอยู่ในระนาบเดียวกันได้พร้อมกัน
วิธีการทำงาน

- เลือกขนาดหัวกัด ระยะพิทช์ และตำแหน่งเพื่อรักษารูปทรงคมตัดอย่างน้อยด้านหนึ่งไว้
- ตรวจสอบความหนาของเศษเพื่อให้มีอัตราป้อนต่อฟันตัดที่เหมาะสมที่สุด
- ตรวจสอบข้อกำหนดเกี่ยวกับกำลังและแรงบิดสูงในงานกัดที่ทำได้ยาก ในการใช้งานที่หัวจับมีปลายแบบอิสระ ความแข็งของหัวจับและระยะยื่นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
- ส่วนรองรับอุปกรณ์จับยึดและหัวจับต้องแข็งแรงเพื่อให้สามารถรับแรงตัดจากการตัดตามได้
การกัดตาม:
- วิธีแรกที่เลือกใช้
- ใช้ตัวตั้งระยะที่มั่นคงในทิศทางแรงตัดแนวดิ่งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแรงกดชิ้นงานลงกับโต๊ะ ทิศทางการป้อนงานจะสอดคล้องกับแรงตัด ซึ่งนั่นหมายถึงความแข็งแรงและการป้องกันการเกิดระยะฟรีมความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากหัวกัดมีแนวโน้มที่จะเกิดการกัดทวนได้
การกัดทวน:
- อีกทางหนึ่งในการใช้งานที่เกิดปัญหาเนื่องจากมีความแข็งแรงไม่มากพอ หรือเมื่อต้องทำงานกับวัสดุชนิดพิเศษ
- ดำเนินการแก้ปัญหาที่เกิดจากสภาพการทำงานที่ไม่มั่นคงและมีเศษติดค้างในร่องลึก
ฟลายวีล:
- ส่วนเสริมที่ไว้วางใจได้สำหรับสภาพการทำงานที่ไม่มั่นคงเมื่อมีกำลังและแรงบิดต่ำ
- วางฟลายวีลให้อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับเครื่องมือมากที่สุด
- การเพิ่มความแข็งแกร่งในการติดตั้งชิ้นงานเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเสมอ
การกัดช่องเปิดโดยใช้หัวกัดข้างและหัวกัดปาดหน้า

การคำนวณอัตราป้อนต่อฟันตัด
ปัจจัยสำคัญในการกัดข้างโดยใช้หัวกัดข้างและหัวกัดปาดหน้าจะทำให้อัตราป้อนต่อฟันตัดที่เหมาะสมfz ค่าที่ไม่แม่นยำเพียงพอจะทำให้เกิดข้อเสียที่รายแรงได้ จึงควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษทุกครั้งเมื่อต้องคำนวณค่านี้
ควรลดอัตราป้อนต่อฟันตัด fz เมื่อทำการกัดช่องลึก และเพิ่มอัตราป้อนต่อฟันตัดเมื่อทำการกัดช่องตื้น เพื่อให้เศษมีความหนามากที่สุดตามที่แนะนำ ตัวอย่างเช่น เมื่อกัดช่องหน้าเต็มด้วยหน้าลาย M30 ค่าเริ่มต้นสำหรับความหนาสูงสุดของเศษควรอยู่ที่ 0.12 มม. (0.005 นิ้ว)
หมายเหตุ: ใช้จำนวนเม็ดมีดครึ่งหนึ่ง zn ในการคำนวณอัตราป้อนงาน เนื่องจากเม็ดมีดสองชุดจะทำงานรวมกันเพื่อตัดความกว้างของช่องหน้าเต็ม
ae / Dcap (%) | fz (มม./ฟันตัด) | hex (มม.) |
25 | 0.14 (0.006 นิ้ว) | 0.12 (0.005 นิ้ว) |
10 | 0.20 (0.008 นิ้ว) | 0.12 (0.005 นิ้ว) |
5 | 0.28 (0.011 นิ้ว) | 0.12 (0.005 นิ้ว) |
ระยะกินลึก
สามารถสั่งซื้อหัวกัดรุ่นพิเศษเพื่อให้กัดช่องได้ลึกยิ่งขึ้น หากต้องทำการตัดเฉือนช่องที่ลึกกว่านี้ ควรลดอัตราป้อนตอฟันตัด หากช่องตื้นขึ้น ให้เพิ่มอัตราป้อน
หมายเหตุ: เส้นผ่านศูนย์กลางของส่วนเน้นของหัวจับ ความแข็งแรงต่อการเสียรูปถาวรของลิ่มล็อค และความจุของช่องเก็บเศษเป็นตัวจำกัดความลึกของช่องได้
ฟลายวีล – ที่เครื่องจักรแนวนอน

ในการกัดข้างและกัดปาดหน้าแต่ละครั้ง ฟันที่ตัดเข้าชิ้นงานมีเพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น แต่สามารถทำให้เกิดการสั่นสะท้านจากการบดตัวทุ่นแรงได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อการตัดเฉือนและต่อประสิทธิภาพการผลิตได้
- การใช้ฟลายวีลเป็นวิธีแก้ไขที่ได้ผลดีในการช่วยลดการสั่นสะท้านที่เกิดขึ้น ปัญหาที่เกิดจากกำลัง แรงบด และความมั่นคงในการตัดเฉือนไม่ดีพอ ส่วนใหญ่มีการแก้ปัญหาโดยใช้ฟลายวีลที่ถูกต้อง
- จึงจำเป็นต้องใช้ฟลายวีลในกรณีที่ใช้เครื่องจักรขนาดเล็กที่มีกำลังต่ำหรือสึกหรอมาก มากกว่าในกรณีที่ใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีความมั่นคงและมีประสิทธิภาพกว่า
- วางฟลายวีลให้อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับเครื่องมือมากที่สุด
- การใช้ฟลายวีลส่งผลให้การตัดเฉือนเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยลดเสียงรบกวนในการทำงาน การสั่นสะท้าน และช่วยยืดอายุการใช้งานเครื่องมือให้นานขึ้นตามลำดับ
- นอกจากการกัดทวนแล้ว ยังสามารถติดตั้งฟลายวีลเข้ากับหัวจับที่ติดหัวกัดไว้ได้ด้วย
- ให้ใช้ฟลายวีลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่จะใช้ได้เพื่อเพิ่มความมั่นคงขณะทำการกัดข้างและกัดปาดหน้า
- เมื่อใช้จานเหล็กกล้าคาร์บอนทรงกลมต่างๆ รวมกับหัวกัดแต่ละตัวที่มีรูกลางและรองลิ่มเพื่อให้พอดีกับหัวจับนั้นยังคงเป็นวิธีสร้างฟลายวีลที่เหมาะสมที่สุด
การกัดด้วยหัวกัดหลายหัวพร้อมกันโดยใช้หัวกัดที่ติดตั้งในลักษณะสลับฟันปลา
สามารถจัดเรียงหัวกัดที่มีรูติดตั้งรองสลัก 2 รองในลักษณะสลับฟันปลาได้ เพื่อทำการกัดรองมากกว่าหนึ่งรองพร้อมกัน ตำแหน่งของหัวกัดที่เคลื่อนไปจากเดิมอย่างสอดคล้องกันจะช่วยไม่ให้เกิดการสั่นสะท้าน ทั้งนี้ยังช่วยลดความจำเป็นในการใช้ฟลายวีลได้ด้วย

การกัดช่องและรองแคบตื้น


หัวกัดอเนกประสงค์มีเม็ดมีดหลายคมตัด ซึ่งมีรูปทรงต่างๆ เพื่อให้พอดีกับรองขนาดเล็กเกือบทุกประเภท โดยทั่วไปจะใช้ในการตัดเฉือนแหวนล็อคภายในและรองแหวนซีล ตลอดจนรองยาวเล็กหรือรองภายนอกแบบวงกลม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนโครงสร้าง/ชิ้นงานที่ไม่สามารถหมุนได้
การกลึงรองด้านใน

- เมื่อใช้การกัดวงกลม ควรตั้งโปรแกรมการเข้ากัดชิ้นงานอย่างนุ่มนวล
- ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางหัวกัดและเส้นผ่านศูนย์กลางรู Dc/Dw หากความสัมพันธ์มีค่าน้อย ก็จะยิ่งทำให้มีหน้าสัมผัสมากขึ้น
การกัดร่องด้วยดอกเอ็นมิล

ดอกเอ็นมิลเหมาะสำหรับการกัดช่องตันที่ไม่ยาวมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกัดร่องแบบปิดและหลุม รวมถึงการกัดร่องสลัก ดอกเอ็นมิลเป็นเครื่องมือเดียวที่สามารถกัดช่องปิดที่มีลักษณะดังนี้ได้
- เป็นแนวตรง โค้ง หรือหกมุม
- กว้างกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางเครื่องมือ หลุมที่มีลักษณะเฉพาะ
การใช้หัวกัดคมตัดยาวพบได้บ่อยในงานกัดร่องที่มีความยากลำบากกว่า
ตัวเลือกเครื่องมือ
ดอกเอ็นมิลและหัวกัดคมตัดยาว
![]() | ![]() | ![]() | ![]() | |
ดอกเอ็นมิลคาร์ไบด์แท่ง | ดอกเอ็นมิลปาดหน้าบ่างาน | หัวกัดคมตัดยาว | ดอกเอ็นมิลแบบถอดเปลี่ลี่ยนหัวได | |
ขนาดเครื่องจักร / สปินเดล | ISO 30, 40, 50 | ISO 40, 50 | ISO 40, 50 | ISO 30, 40, 50 |
ความมั่นคงที่ต้องการ | สูง | ปานกลาง | สูง | ต่ำ |
การกัดหยาบ | ดีมาก | ดี | ดีมาก | พอใช้ |
การเก็บผิวละเอียด | ดีมาก | ดี | พอใช้ | ดีมาก |
ระยะกันลึก ap | มาก | ปานกลาง | มาก | น้อย |
ความอเนกประสงค์ | ดีมาก | ดี | พอใช้ | ดีมาก |
ประสิทธิภาพการผลิต | ดีมาก | ดี | ดีมาก | ดี |
วิธีการทำงาน
- ใช้ดอกเอ็นมิลที่ใช้แรงตัดต่ำและเครื่องมือที่มีอายุการใช้งานยาวนานและคาดการณ์ได้ ซึ่งติดตั้งในหัวจับที่มีประสิทธิภาพสูง
- รักษาระยะจากหัวจับเครื่องมือถึงคมตัดเพื่อให้มีระยะยื่นสั้นที่สุด
- คำนึงถึงอัตราป้อนงานต่อคมตัดเพื่อให้เศษมีความหนาตามต้องการ ใช้หัวกัดระยะพิตช์ห่างเพื่อไม่ให้เศษบาง ซึ่งจะทำให้เกิดการสั่นสะท้าน ผิวงานมีคุณภาพไม่ดี และเกิดเศษครูดได้
- ใช้เครื่องมือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเพื่อให้เส้นผ่านศูนย์กลาง/ความยาวสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมที่สุดและเกิดความมั่นคง
- ใช้การกัดทวนให้มากที่สุดเพื่อให้การตัดเอื้อประโยชน์มากที่สุด
- ตรวจดูให้แน่ใจว่ามีการกำจัดเศษออกอย่างเพียงพอ ใช้ลมอัดเพื่อไม่ให้เศษอัดตัน
- ใช้ระบบจับยึด Coromant Capto® เพื่อให้มีความมั่นคงสูงสุด และรองรับสปินเดิลได้อย่างดีที่สุด
การกลึงร่องโดยใช้ดอกกัดเอ็นมิล

การกัดร่องหรือช่องที่มักจะเรียกว่าการกัดร่องหน้าตรงมีหน้าตัดสามหน้า ดังนี้
- ช่องที่ตัดกับปลายทั้งสองด้านเป็นหลุม ต้องใช้ดอกเอ็นมิลที่สามารถทำงานในแนวแกนได้
- การกัดร่องหน้าตรงด้วยดอกเอ็นมิลเป็นงานที่ซับซ้อนและเต็มไปด้วยความท้าทาย โดยทั่วไปควรลดระยะกินลึกแนวแกนลงประมาณ 70% ของความยาวคมตัด และในการกำหนดวิธีทำงานที่เหมาะสมที่สุดนั้นควรคำนึงถึงความแข็งในการตัดเฉือนและการคายเศษด้วย
- ดอกเอ็นมิลไวต่อผลกระทบจากแรงตัด การเบี่ยงเบนและการสั่นสะท้านอาจเป็นข้อจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอัตราการตัดเฉือนสูงและระยะยื่นยาว
การกัดร่องสลัก
การทำงานประเภทนี้จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำพิเศษเพิ่มเติมบางประการ นอกเหนือจากคำแนะนำทั่วไปสำหรับการกัดพื้นผิวตรงและการกัดร่อง ทิศทางของแรงตัดและแนวโน้มที่เครื่องมือจะโก่งตัวส่งผลให้ช่องที่กัดในขั้นตอนเดียวจะไม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสโดยสมบูรณ์ ต้องใช้ดอกเอ็นมิลขนาดเล็กกว่ามาตรฐาน เพื่อช่วยให้มีความแม่นยำและประสิทธิภาพการผลิตสูงสุด โดยแบ่งออกเป็นสองขั้นตอนดังนี้
- การกัดร่องลึก – การกัดหยาบช่องหน้าตรง
- การกัดข้าง – การเก็บผิวละเอียดรอบข้างช่องทั้งหมด โดยใช้การกัดทวนเพื่อให้เกิดมุมเหลี่ยมจริง
ในการเก็บผิวละเอียด ควรรักษาระยะกินลึกในแนวรัศมีให้ต่ำเพื่อไม่ให้หัวกัดเบี่ยงทิศทาง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผิวสำเร็จมีคุณภาพต่ำ และ/หรือเกิดการเบี่ยงเบนออกจากบางงานที่ทำมุม 90°


การกัดร่องลึกสองขั้นตอน
วิธีเปิดช่องปิดหรือหลุมในชิ้นงานเปล่า

ในการเตรียมพร้อมสำหรับการกัดช่องแบบเต็มทั้งแคบและยาวนั้น การกัดไล่ระดับแนวตรงเป็นวิธีการทำงานปกติหลังจากเจาะเพื่อเปิดหลุม
สำหรับช่องตัน สามารถใช้การกัดไสเป็นอีกทางเลือกหนึ่งได้ การกัดวงกลมไล่ระดับใช้สำหรับกัดช่องและหลุมที่มีขนาดกว้างกว่า
การเปรียบเทียบวิธีการทำงานทั้งสามวิธี
การกัดช่องแบบทั่วไป

+ สามารถใช้เครื่องจักร 3 แกนแบบทั่วไปได้
+ อัตราการขจัดสูงในสภาพการทำงานที่มั่นคง
+ ตั้งโปรแกรมง่าย
+ มีเครื่องมือให้เลือกหลากหลายรูปแบบ
– ทำให้เกิดแรงตัดในแนวรัศมีสูง
– ไวต่อการสั่นสะท้าน
– ร่องลึกจำเป็นต้องกัดหลายรอบ
การกัดแบบโทรคอยด์

+ ทำให้เกิดแรงตัดในแนวรัศมีต่ำ- ไวต่อการสั่นสะท้านน้อย
+ เบี่ยงเบนน้อยเมื่อกัดช่องลึก
+ เป็นวิธีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตใน:
- การตัดเฉือนเหล็กชุบแข็งและ HRSA (ISO H และ)
- การทำงานที่ไวต่อการสั่นสะท้าน
+ เส้นผ่านศูนย์กลางหัวกัดไม่ควรเกิน 70% ของความกว้างของช่อง
+ คายเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
+ ทำให้เกิดความร้อนต่ำ
– ต้องตั้งโปรแกรมเพิ่ม
การกัดแนวดิ่ง

+ ขจัดปัญหาสำหรับงานที่เกิดการสั่นสะท้านได้ง่าย:
- มีระยะยื่นยาวของเครื่องมือ
- ในช่องลึก
- ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังต่ำหรือมีสภาพการทำงานที่ไม่มั่นคง
– ประสิทธิภาพการผลิตต่ำในสภาพการทำงานที่มั่นคง
– ต้องการกัดเนื้องาน/การเก็บผิวละเอียดส่วนที่เหลือ
– ปลายคมตัดอาจเป็นอุปสรรคต่อการคายเศษ
– มีตัวเลือกเครื่องมือจำกัด
การกัดช่องหยาบโดยใช้หัวกัดคมตัดยาว
- หัวกัดที่สามารถคายเศษโลหะได้ในปริมาณมากโดยทั่วไปจะนำไปใช้ในการกัดหยาบ
- หัวกัดที่มีคมตัดสั้นอาจทำให้ช่องที่มีความลึกเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางเมื่อใช้เครื่องกัดที่มีความมั่นคงและทรงประสิทธิภาพ
- ให้ใช้สปินเดิล ISO 50 ที่มีความมั่นคง เนื่องจากหัวกัดอาจเกิดโอกาสปรับแรงในแนวรัศมีเพิ่มมากขึ้น
- ตรวจสอบข้อกำหนดเกี่ยวกับกำลังและแรงบิด เนื่องจากเป็นข้อจำกัดที่มีผลต่อการทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
- ต้องคำนึงถึงระยะพิตช์ที่เหมาะที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละประเภท


เริ่มแรกออกแบบใหม่ขนาดยาวขึ้น
สำหรับการกัดขอบ
ระยะพิทช์ | L ![]() | M ![]() | H ![]() |
รูปแบบการทำงาน | การปรับตั้งแบบยาว | อเนกประสงค์ | การปรีบตั้งแบบสั้น |
งานกัดบ่าฉาก | ลึก ap/ae | ปานกลาง ap/ae | ปานกลาง ap/ae |
การกัดร่อง | ปานกลาง ap/ae | จำกัด | __ |
vc ฟต/นาที | ![]() | ![]() | ![]() |